top of page

หนังสือถอดบทเรียนงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย (2563)

โดย พินิจ ลาภธนานนท์, สายชล ปัญญชิต, ภูเบศ วณิชชานนท์ และพิรญาณ์ แสงปัญญา

ภาพหัวเว็บ.jpg

          หากจะกล่าวถึงงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธที่ดำเนินการอยู่โดยพระสงฆ์ ผู้คนในสังคมอาจนึกถึงการสงเคราะห์แบบการบริจาคสิ่งของในยามที่ชาวบ้านทั่วไปเกิดน้ำท่วม ประสบปัญหาภัยหนาว หรือเกิดเหตุไฟไหม้ตามชุมชนทั่วไปในสังคม หรือหากจะจินตนาการให้มากขึ้นอาจนึกถึงการมอบทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการสงเคราะห์พื้นฐานที่คณะสงฆ์ทำมาอย่างต่อเนื่องและคงดำรงอยู่ในสังคมไทยต่อไป

น้ำท่วม 2_๑๗๐๙๐๘_0391.jpg

          ภาพการทํางานลักษณะนี้เป็นที่คุ้นชินจนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “กิจกรรมสงเคราะห์เฉพาะหน้า” ที่พระสงฆ์ ทําได้ดี ทํามาอย่างต่อเนื่อง และทําอย่างไม่เลือกถิ่นฐานกําเนิด

IMG_9768.JPG

          อย่างไรก็ตามการจะพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทยให้มีความยั่งยืน กล่าวคือ สามารถเข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งมีการสร้างองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับและ ถ่ายทอดส่งต่อให้กับศาสนทายาทอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันการผลัดใบที่ไม่สามารถหาทายาทธรรมที่พร้อม ทํางานสานต่องานสาธารณสงเคราะห์ได้ จําเป็นต้องอาศัยการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองคณะ สงฆ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สํานักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม หรือ ศูนย์ประสานงา นฝ่ายสาธารณ สงเคราะห์ประจําจังหวัด เป็นต้น กับ เครือข่ายพระสังคหวัตรหรือพระสงฆ์นักพัฒนาในพื้นที่ต่างๆ จึงจะสามารถ เกิดการระดมความร่วมมือเพื่อสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานต่อไป

252384.jpg

          จากการตระหนักถึงบทบาทการดําเนินกิจกรรมดังกล่าว เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการ มหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ได้มอบ นโยบายให้ พระมงคลวชิรากร ในฐานะเลขานุการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และพระสุธีรัตน บัณฑิต รศ.ดร. ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร ขับเคลื่อนการผลักดันงานวิชาการภายใต้การสนับสนุน ของ (1) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2) สถาบันวิจัยพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย และ (3) โครงการการศึกษาแนวทางสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมเด็จ.jpg

สมเด็จพระมหาธีราจารย์

กรรมการมหาเถรสมาคม

ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะหข์องมหาเถรสมาคม

และเจา้อาวาสวดัยานนาวา

พระมงคลวชิรากร.jpg
พระสุธีรัตนบัณฑิต.jpg

พระมงคลวชิรากร

เลขานกุารฝ่ายสาธารณสงเคราะหข์องมหาเถรสมาคม

พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร.

ผู้อำนวยการสถาบันจิจัยพุทธศาสตร์ มจร

          นํามาสู่การพัฒนาจนเกิดเป็นหนังสือชื่อ “ถอดบทเรียนงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย” ซึ่งภายในหนังสือดังกล่าว จะนําเสนอรูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ 4 รูปแบบที่มีเอกลักษณ์ คุณค่าและเครือข่าย การทํางานที่มุ่งเน้นการสร้างคน สร้างธรรม และสร้างการพัฒนาตามแนวรูปแบบของตนเอง

#3.jpg

          การนําเสนอเรื่องรูปแบบการสงเคราะห์ ถูกเล่าผ่านเรื่องราวของคณะสงฆ์วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานครที่มีพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (วีรพล วีรญาโณ)

 

พลังบวร.jpg

          ในฐานะที่ท่านเป็นครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ที่ได้ผลักดันให้กลุ่มนักเรียนโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย จัดตั้งกลุ่มการทํางานจิตอาสาในชุมชนรอบโรงเรียน ภายใต้กิจกรรมที่ดูเหมือนเพียงการมอบสิ่งของ กลับนํามาสู่ การมอบธรรม และเปลี่ยนแปลงวิถีคิดต่อการใช้ชีวิตของผู้ให้และผู้รับ ได้สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับงานจิตอาสา รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้คณะสงฆ์ได้เข้าไปทํางานในชุมชนที่อุปถัมภ์เกื้อกูลพุทธศาสนาร่วมกันมาได้อย่างน่าสนใจ

#2.jpg

          ขณะที่รูปแบบการเกื้อกูล ผลงานชิ้นนี้จะนําผู้อ่านให้เห็นงานสร้างสุขภาวะองค์รวมที่ขับเคลื่อนงานโดย พระครูวิบูลวุฒิกร (สวัสดิ์ จักฺกวโร) วัดอโศการาม บ้านยอดแกง ตําบลยอดแกง อําเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

 

ชมรมรักษ์สุขภาพ.jpg

          ท่านได้นําการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนากลุ่มการทํางานที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุให้กับคน ในชุมชน ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ การเปิดพื้นที่วัดให้เป็นลานธรรมะที่มีชีวิต และการสร้างระบบการดูแลรักษา สุขภาพแบบพึ่งตนเองให้ผู้สูงอายุ ที่มีการเตรียมการให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเข้ามาทํางานด้วย ถือเป็นบทบาท การเกื้อกูลสังคมที่เหมาะสมกับยุคสมัย และสามารถนําไปสู่การเป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดการทํางานให้กับคณะ สงฆ์ต่อไป

#4.jpg

          สําหรับรูปแบบการพัฒนา ได้นําเสนอผ่านผลงานธนาคารน้ําใต้ดินของพระนิเทศศาสนคุณ (สมาน สิริปัญโญ) หรือหลวงพ่อสมาน

 

ธนาคารน้ำใต้ดิน.jpg

          ท่านถือเป็นพระสงฆ์ที่เชื่อมั่นว่าน้ําคือหัวใจแห่งการพัฒนา ดังนั้นจึงเกิดความพยายามศึกษาแนวทางการ แก้ไขวิกฤตน้ํา โดยอาศัยการเรียนรู้จากการเคยจําพรรษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกามาประยุกต์เข้ากับบริบทสังคมไทย ปัจจุบันองค์ความรู้ที่ท่านได้สั่งสมและพัฒนามาสู่การจัดตั้งสถาบันวิจัยนิเทศศาสนคุณ โดยมีเป้าหมายเพื่อการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ําภายใต้แนวคิดการพัฒนาธนาคารน้ําใต้ดินในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของ ประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น

#5.jpg

          ท้ายที่สุดรูปแบบการบูรณาการ เป็นเรื่องเล่าและงานสังเคราะห์การดําเนินกิจกรรมของกลุ่มคิลานธรรม กลุ่มพระสงฆ์จิตอาสา ภายใต้การนําของ พระมหาสุเทพ สุทธิญาโณ ที่เห็นความสําคัญของการดูแลผู้ป่วยด้วยหลัก พุทธจิตวิทยา

 

คิลานธรรม.jpg

          การดําเนินงานของกลุ่มคิลานธรรมได้อาศัยความร่วมมือกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้ง จําเป็นต้องพัฒนาให้หลักพุทธธรรมค้ําจุนกําลังใจให้กับผู้ป่วยและเครือญาติ จึงจะเห็นความอดทนในการยืนหยัดที่ จะทํางานจิตอาสา และความพยายามผลักดันให้กลุ่มพระสงฆ์คิลานธรรมพัฒนาองค์ความรู้ให้พร้อมกับการออกไป ทํางานจิตอาสาเยียวยาผู้ป่วยและเครือญาติได้

Screen Shot 2563-03-10 at 22.59.42.png

          บทบาทการทํากิจกรรมตามที่หนังสือเล่มนี้ได้ถอดบทเรียนมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานสาธารณ สงเคราะห์วิถีพุทธที่คณะสงฆ์ไทยดําเนินการอยู่ แต่ถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้การเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนทางความคิด เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับการงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธให้ยั่งยืนต่อไป

เนื้อหาโดย

_DSC0021.jpg

พงษ์พัฒน์ ใหม่จันทร์ดี

bottom of page