top of page

แนะนำหนังสือถอดบทเรียนเพชรงามสาธารณสงเคราะห์

พินิจ ลาภธนานนท์, สายชล ปัญญชิต, ภูเบศ วณิชชานนท์ และพิรญาณ์ แสงปัญญา

 

โดย พระมหาประยูร โชติวโร (คำมา) 

ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

และกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

S__14630919.jpg

          หนังสือถอดบทเรียนเพชรงามสาธารณสงเคราะห์ เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวครูบาอาจารย์ที่ท่านเสียสละทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา สังคมและประเทศชาติ เรื่องราวชวนให้ติดตามและศึกษานี้มีทั้งหวานและขมของพระสงฆ์ที่ท่านต่างทุ่มเทเสียสละทำกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์สนองงานพระศาสนามาอย่างต่อเนื่อง 

Mock-up#3.jpg

          หนังสือเล่มนี้เป็นกล่าวถึงเฉพาะตัวอย่างที่เป็นต้นแบบสำคัญ 4 รูป ประกอบด้วย

          ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชธรรมนิเทศ (หรือที่เราเรียกขานนามท่านว่าพระอาจารย์พยอม)

          ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระสิริพัฒโนดม

          ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระเมธีวชิโรดม (หรือที่เราเรียกขานท่านว่าพระอาจารย์มหาวุฒิชัย)

          และท่านพระครูอุภัยโกศล (ที่คนทั่วไปรู้จักท่านในนามหลวงพี่ช้างขายแกง)

พระราชธรรมนิเทศ.jpg
พระสิริพัฒโนดม.jpg
พระเมธีวชิโรดม.jpg

พระราชธรรมนิเทศ

พระสิริพัฒโนดม

พระเมธีวชิโรดม

พระครูอุภัยโกศล.jpg

พระครูอุภัยโกศล

          หากพิจารณาจากผลงานที่แต่ละท่านได้เสียสละทำงาน ในมิติที่คนทั่วไปอาจไม่ได้กล่าวถึงนักคือ การเป็นแม่แบบทางวิชาการการศึกษาพระพุทธศาสนาไทย คือเป็นบทเรียนให้กับเกิดการถกเถียง เรียนรู้ และสร้างแนวปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมต่อไป ถือได้ว่าผลงานที่ท่านได้เสียสละดำเนินงานกันมา สมกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ที่แปลความได้ว่า ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ข่มคนที่ควรข่ม จึงสามารถกล่าวได้ว่าผลงานหนังสือเล่มนี้เป็นงานวิชาการที่ผู้ที่สนใจใฝ่ศึกษาทางพระพุทธศาสนากับสังคม ควรได้อ่านและร่วมเรียนรู้ วิเคราะห์และเสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับการทำงานให้กับคณะสงฆ์ไทยต่อไป

Mock-up#2.jpg

          กล่าวเฉพาะเมื่อสถานการณ์สังคมปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของโรคระบาด Covid-19 จะเห็นได้ว่าคณะสงฆ์ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ได้สนองงานมหาเถรสมาคม ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ เกื้อกูล พัฒนา และบูรณาการ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในสังคม ที่จะสามารถร่วมเยียวยาหรือผลักดันการป้องกันโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ระดมสรรพกำลังต่าง ๆ ในการช่วยดูแลสังคมขณะนี้

S__137470002.jpg
S__137469990.jpg
3794.jpg
S__14639106.jpg
S__75997198.jpg

          จุดนี้เองที่ผู้เขียนสามารถกล่าวได้ว่า ในนามของกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เห็นบทบาทการกำหนดนโยบาย และสนับสนุนให้คณะสงฆ์ระดับพื้นที่ สามารถเคลื่อนกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์และการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ เป็นความพยายามร่วมกันของคณะสงฆ์ภายใต้แผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ที่พยายามผลักดันให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ มีโครงสร้างองค์กรและกลไกถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้ ขณะเดียวกันสำนักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ก็ได้เชื่อมโยงเครือข่ายการดำเนินกิจกรรมร่วมกับ สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ในระยะยาวและยั่งยืนได้ต่อไป

สมเด็จพระมหาธีราจารย์.jpg

สมเด็จพระมหาธีราจารย์กรรมการมหาเถรสมาคม
ประธานคณกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์

ของมหาเถรสมาคม

Screen Shot 2020-04-09 at 2.19.49 PM cop

พระเทพปวรเมธี

ประธานคณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.)

03.png

พระเทพเวที

กรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.)

#6.jpg

พระมงคลวชิรากร

เลขานุการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของ มหาเถรสมาคม

#7.jpg

พระสุธีรัตนบัณฑิต

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร

01.png

รศ.ดร.พินิจ ลาภธนานนท์

ผู้จัดการโครงการการศึกษาแนวทางสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย

          ดังที่ผู้เขียนได้เชื่อมโยงสถานการณ์สังคมปัจจุบันกับบทบาทของงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทยมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาให้ยั่งยืนได้นั้น การทำงานภาควิชาการควบคู่ไปกับงานภาคปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสงฆ์ไทยซึ่งมีพระธรรมวินัยเป็นหนึ่งในสรณะสำคัญที่เราพึ่งยึดถืออยู่โดยตลอด ดังนั้นผลงานชิ้นนี้จะได้พาท่านที่สนใจ ได้เรียนรู้เรื่องราวของพระสงฆ์นักสาธารณสงเคราะห์ ที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะองค์รวม ครอบคลุมการพัฒนากาย จิต ปัญญาและสังคม ซึ่งแต่ละท่านมีเรื่องราว ความโดดเด่น และการเรียนรู้ต้นแบบที่จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนที่ต้องการเรียนรู้ และพัฒนา ปรับปรุงให้การทำงานของท่านเองดีขึ้นได้ต่อไป จึงขออนุโมทนาขอบคุณโครงการการศึกษาแนวทางสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ได้ส่งเอกสารต่าง ๆ ให้ผู้เขียนได้ร่วมเรียนรู้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดการศึกษาและเอกสารทางวิชาการที่เป็นไฟทางปัญญาให้กับผู้คนในสังคมไทย ได้หันมาสนใจบทบาทของพระพุทธศาสนากับสังคมมากขึ้น

เนื้อหาโดย

DSC_6994.jpg

พระมหาประยูร โชติวโร

bottom of page