วัด อ.ป.ต. เสริมสร้างสุขภาวะบูรณาการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนให้เกิดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) สังคมไทย เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธสังคมไทยสำหรับโครงการถอดบทเรียนการทำงานเชิงพื้นที่ วิเคราะห์/ถอดบทเรียนการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) สังคมไทยสำหรับโครงการถอดบทเรียนการทำงานเชิงพื้นที่ เป้าหมายเชิงพื้นที่หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนตะวันออก ได้แก่ ภาค ๘ จังหวัดเลย ภาค ๙ จังหวัดขอนแก่น ภาค ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ภาค ๑๑ จังหวัดนครราชสีมา และ ภาค ๑๒ จังหวัดปราจีนบุรี จัดกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่
ภาพและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่น่าประทับใจระหว่างลงพื้น พระสงฆ์หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนตะวันออก เป็นแกนนำสำคัญสร้างสุขภาวะชุมชน เช่น วัดพรหมราชหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ตฺ) ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑๑ มีพระธรรมวรนายก พระสงฆ์ต้นแบบส่งเสริมสร้างสุขภาวะ ส่งผลให้วัดพรหมราชและวัดในจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับการดูแลสุขภาพประชาชน วัดปลอดเหล้า วัดส่งเสริมการเรียนรู้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) หนตะวันออก มีลักษณะเด่นของกิจกรรมทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ความเหมือนเน้นใช้การเผยแผ่และใช้หลักธรรมให้เกิดการสร้างสุขภาวะ ส่วนความแตกต่างเป็นการใช้ทรัพยากรและการสนับสนุนของชุมชนมาจัดเป็นกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะ. ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. สุขภาวะทางกาย ๒. สุขภาวะทางจิต ๓. สุขภาวะทางสังคม ๔. สุขภาวะทางปัญญา
๑. สุขภาวะทางกาย หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) วัดวังอ้อ จัดกิจกรรมสร้างสุขภาวะให้แก่ประชาชน วัดสะอาด สภาพแวดล้อมของป่าชุมชนอันร่มรื่นหนุนเสริมให้เกิดความสงบเยือกเย็น ส่งเสริมร่ายกาย สุขภาพแข็งแรง ส่วนจิต มีกิจกรรมฝึกอบรมจิตใจ ปฏิบัติธรรม ส่งเสริมการปลูกผักบริโภค ปลอดการใช้สารเคมี แบ่งปั่นแก่สมาชิกชุมชน ส่งผลสุขภาพพระสงฆ์และประชาชน อบรมประชาชนไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดตามหลักศีล ๕
๒. สุขภาวะทางจิต หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) จัดกิจกรรมสร้างพลังจิตคนดี จิตอาสา เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมไทย สร้างความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองการยอมรับนับถือตนเอง ให้กำลังใจตนเองได้ เห็นอกเห็นใจ ผู้อื่น มีลักษณะเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
๓. สุขภาวะทางสังคม หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) เสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ พัฒนาพระสงฆ์ให้มีศักยภาพ และให้การอบรมสั่งสอนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นแกนนำในการพัฒนาสังคม ช่วยอบรมสั่งสอนแนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เน้นการมีจิตอาสาสร้างเครือข่ายทางสังคมเกิดเป็นทุนสุขภาวะทางสังคม สนับสนุนกิจกรรมหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ร่วมกันทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทานบริจาคทรัพย์ ทั้งที่เป็นเงิน วัตถุ และแรงงานรองรับกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน
๔. สุขภาวะทางปัญญา หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ส่งเสริมปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนความสามารถของชุมชนในการใช้ปัญญาการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รับรู้-เข้าใจ ความรู้สึกของตนเอง
พลวัตจากการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธตามบทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) มีลักษณะเด่นด้านสาธารณสงเคราะห์กับศีลธรรมและวัฒนธรรม สามารถนำมาใช้เมื่อเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนให้เกิดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) สังคมไทย วัดหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนตะวันออก แสดงบทบาทการสร้างเสริมสุขภาวะ ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
ประชาชนสนใจและสนับกิจกรรมของพระสงฆ์ในตำบล พร้อมขับเคลื่อนและพัฒนาท้องถิ่นควบคู่กับการพัฒนาทางด้านวัตถุและงานบริการอื่นๆของภาครัฐ และคณะสงฆ์มีการทำงานเชิงรับและเชิงรุกเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม สามารถสร้างผลงาน ให้เป็นที่จดจำ ในสังคม ผ่านประสบการณ์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน จัดตั้งคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ลงพื้นที่ประเมินการดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) แต่การสรุปเป็นผลงานประจำปี เพื่อยกย่อง เชิดชูผลงานนั้น ทีมเห็นว่าควรสนับสนุนให้หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) มีศักยภาพเพิ่มขึ้นรองรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) เพื่อสร้างสุขประชนต่อไป