เรื่องเล่า การขับเคลื่อนการเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนว
พระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน
ภายใต้ โครงการการสร้างเสริมเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา
วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ (แสนวงค์)
การขับเคลื่อนการเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ซึ่งได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือของเครือข่ายได้แก่ คณะสงฆ์จังหวัดลำพูน วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคเหนือตอนบน เครือข่ายหมู่บ้านต้นแบบรักษาศีล ๕ จังหวัดลำพูน และ สถาบันวิจัยหริภุญชัย ซึ่งได้ลงบันทึกความร่วมมือ ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบอันเกิดจากการบริโภคบุหรี่และสุรา ในฐานะปัจจัยเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพตลอดจนกำหนดนโยบายและแผนงานพัฒนากิจกรรม องค์ความรู้ และนโยบายในการลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ นำไปสู่การกำหนดรูปแบบของการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดลำพูน ในปี ๒๕๖๒ จึงเกิดชุมชนต้นลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และการเสริมสร้างเครือข่ายอย่างเข้มแข็งของจังหวัดลำพูน
ในปี ๒๕๖๓ นี้ จังหวัดลำพูนได้ยกระดับการขับเคลื่อนการเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน โดยมีเป้าหมายเชิงคุณภาพ ๓ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ สามเณรในโครงการภาคฤดูร้อน โรงเรียนต้นแบบศีล ๕ และ ชุมชนต้นแบบศีล ๕ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักในการป้องกันนักสูบและนักดื่มหน้าใหม่ ทั้งนี้ยังเป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งในการลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูนจึงมีการขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้
๑) กิจกรรมรณรงค์ ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๓ ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย มีกิจกรรมย่อย ได้แก่ จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ กิจกรรมลงนามปฏิญาณตน กิจกรรมฟังเทศน์เรื่อง เทคนิควิธีการลด ละ เลิกเหล้าบุหรี่ โดย พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน และกิจกรรมมอบป้ายชุมชนนำร่องการลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ในชุมชน
๒) เวทีขับเคลื่อนการเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ในวันที่ ๑๒ กรกฎษคม ๒๕๖๓ ณ หอประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ซึ่งมีเจ้าอาวาสจำนวน ๕๒๖ วัด และชุมชนต้นแบบ ๑๒ ชุมชน ในจังหวัดลำพูน ร่วมจัดกิจกรรมพิธีเปิด “ศูนย์เรียนรู้พหุวัฒนธรรม” เพื่อเรียนรู้และสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง จังหวัดลำพูน และบรรยายพิเศษพร้อมประกาศนโยบาย “การบูรณาการกิจการพระพุทธศาสนากับการพัฒนาเชิงพื้นที่” ลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา โดย. พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
๓) การขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในการลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือนกรฎาคม เป็นต้นไป โดยคัดเลือก ๒ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านห้วยแทง ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อลด ละ เลิกเหล้าบุหรี่ ซึ่งมีกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน การพัฒนานวัตกรรมการเลิกเหล้าบุหรี่ เช่น การมอบเสื้อดาวที่กับผู้ที่เลิกเหล้าบุหรี่ถาวร การทำธรรมนูญชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และการห้ามขาย ซื้อ เหล้าบุหรี่ทุกวันพระ ชุมชนบ้านแพะต้นยางงาม อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมธรรมสัญจรตามบ้านทุกวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือน การประชาคมหมู่บ้านเพื่อสร้างกฎระเบียบในการห้ามซื้อ ขาย เหล้าในชุมชน นับเป็นชุมชนที่มีกระบวนการในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
๔) การขับเคลื่อนโรงเรียนศีล ๕ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือน สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป โดยการทำงานผ่านชมรมกล้าศรีลำพูน ที่มีแกนนำโรงเรียนกว่า ๑๐๐ คนที่ได้ผ่านการอบรม และสร้างกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และมีการคัดเลือกโรงเรียนจำนวน ๙ โรงเรียน ซึ่งให้กลุ่มเยาวชนในโรงเรียนเป็นผู้พัฒนากิจกรรมในการลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันนักสูบและนักดื่มหน้าใหม่ โดยการสนับสนุนสื่อและงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งโรงเรียนได้ให้ความสำคัญและมีการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และจะมีการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมเชิงนวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา ในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ต่อไป
๔) การขับเคลื่อนโรงเรียนศีล ๕ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือน สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป โดยการทำงานผ่านชมรมกล้าศรีลำพูน ที่มีแกนนำโรงเรียนกว่า ๑๐๐ คนที่ได้ผ่านการอบรม และสร้างกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และมีการคัดเลือกโรงเรียนจำนวน ๙ โรงเรียน ซึ่งให้กลุ่มเยาวชนในโรงเรียนเป็นผู้พัฒนากิจกรรมในการลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันนักสูบและนักดื่มหน้าใหม่ โดยการสนับสนุนสื่อและงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งโรงเรียนได้ให้ความสำคัญและมีการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และจะมีการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมเชิงนวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา ในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ต่อไป