top of page

เครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อการพัฒนาสุขภาวะวิถีพุทธ

          สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ดำเนิน โครงการการเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้คณะสงฆ์เป็นองค์กรที่สามารถพัฒนาความรู้การสร้างสุขภาวะวิถีพุทธเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการลดปัจจัยเสี่ยงหลัก (ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกฮอล์) ที่สามารถบูรณาการกับภาคีเครือข่ายด้วยกลไก บวร ให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน และ โรงเรียน นอกจากนี้ยังจะทำหน้าที่สนับสนุนสนองการแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 อีกด้วย

          สำหรับการดำเนินงานในระยะปัจจุบัน ซี่งมีระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – 2564 มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน 10 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ ขอนแก่น ศรีษะเกษ สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ระนอง และสงขลา โดยที่ผ่านมาภายใต้การลงนามความร่วมมือที่มี กรมการปกครอง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค มาดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยที่ผ่านมาเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผ่อนคลายลง การดำเนินการทำกิจกรรมได้เริ่มต้นจัดประชุมและจัดกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

          สำหรับการดำเนินงานในระยะปัจจุบัน ซี่งมีระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – 2564 มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน 10 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ ขอนแก่น ศรีษะเกษ สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ระนอง และสงขลา โดยที่ผ่านมาภายใต้การลงนามความร่วมมือที่มี กรมการปกครอง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค มาดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยที่ผ่านมาเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผ่อนคลายลง การดำเนินการทำกิจกรรมได้เริ่มต้นจัดประชุมและจัดกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

@1.jpg
@2.jpg
@5.jpg
@8.jpg
@13.jpg

          ในระยะการดำเนินงานต่อไปเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อการพัฒนาสุขภาวะวิถีพุทธ จะได้มุ่งเน้นการดำเนินงานสามประการสำคัญ ดังนี้

          ประการที่หนึ่ง พัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการเป็นเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ ที่สามารถระดมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ตลอดจนการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้กับคณะสงฆ์สามารถใช้เป็นแหล่งการทำงานเพื่อสนองการขับเคลื่อนงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ

          ประการที่สอง การพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถสะท้อนบทบาทการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะวิถีพุทธต้นแบบ ที่ครอบคลุมทั้งองค์กรพระพุทธศาสนาต่างประเทศ องค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศ รวมทั้งการถอดบทเรียนจากเครือข่ายการดำเนินงานทั้ง 10 จังหวัด โดยมีเป้าหมายสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ กลไกและรูปแบบการดำเนินงานที่มีส่วนต่อการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายสุขภาวะวิถีพุทธในสังคมร่วมสมัย

          ประการที่สาม การส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนระดับนโยบายที่สามารถสนับสนุนให้เกิดกลุ่มการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพโดยใช้กระบวนการพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรม อีกทั้งยังกระตุ้นให้เครือข่ายการดำเนินงานเห็นบทบาทที่เป็นประโยชน์ของแต่ละภาคีที่จะร่วมมือกันดำเนินงานในระยะยาว

เนื้อหาโดย

_DSC9998 copy.jpg

ภูเบศ วณิชชานนท์

bottom of page