บทแนะนำ โครงการวิจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ภาวะสังคมและคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์
ชื่อหนังสือ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภาวะสังคมและคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์
ผู้วิจัย : โกนิฏฐ์ ศรีทอง ชลวิทย์ เจียรจิตต์ เบญจมาศ สุขสถิต และชัยวัชร พรหมจิติพงศ์
องค์กรสนับสนุน : โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประจำตำบลในสังคมไทย
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พิมพ์ : พ.ศ. 2563
จำนวนหน้า : 198 หน้า
ประเภท : งานวิจัย
![Banner9-ปรับ.jpg](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_80a799370752458f9ca75da9b0738528~mv2.jpg/v1/fill/w_486,h_486,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/Banner9-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.jpg)
การที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบกับโครงสร้างประชากรและการจัดการของภาครัฐในประเด็นสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรของสังคมไทยอย่างชัดเจนว่า ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และกำลังอยู่ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือมีจำนวนสัดส่วนของประชากรสูงวัยคิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ภายใต้โครงการสร้างประชากรภาพรวมของทั้งสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อองค์กรคณะสงฆ์ไทยอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน การพัฒนาองค์ความรู้และการทำเข้าใจสถานการณ์สุขภาพของคณะสงฆ์ไทยจึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนากิจการคณะสงฆ์อย่างยั่งยืนในยุคต่อไปเช่นกัน
![อปต 8 9_๑๙๐๕๑๒_0110.jpg](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_e9ac21c261c542d0b8cb47f4d24f2685~mv2.jpg/v1/crop/x_66,y_0,w_1062,h_853/fill/w_468,h_376,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%95%208%209_%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%90%E0%B9%95%E0%B9%91%E0%B9%92_0110.jpg)
![IMG_7104.JPG](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_bfd5c8f99c5e4db38de1258dc552567a~mv2.jpg/v1/crop/x_98,y_0,w_1724,h_1280/fill/w_506,h_376,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/IMG_7104_JPG.jpg)
ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์เกี่ยวกับภาวะโภชนาการอ้างอิงจากเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก พบว่า
พระสงฆ์มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 5.6 มีน้ำหนักตัวปกติ ร้อยละ 28.3 และมีภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 66.1 สำหรับความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ ผลการศึกษาส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นว่า พระสงฆ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป
ขณะที่ประเป็นการรักษาพยาบาลพระสงฆ์ส่วนใหญ่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร้อยละ 63.5 ไม่ใช้สิทธิใด ๆ ร้อยละ 20.8 และใช้สิทธิจากบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.3 ภาพรวมของการศึกษาจะเห็นได้ว่า กลุ่มพระสงฆ์ยังจำเป็นต้องได้รับการยกระดับเกี่ยวกับความรอบรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ตระหนักต่อทั้งสิทธิและองค์ความรู้ที่จะรักษาสุขภาพของตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านนโยบาย รูปแบบการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในสังคมไทย 3 รูปแบบสำคัญที่ค้นพบ คือ
รูปแบบการดำเนินการเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยคณะสงฆ์ รูปแบบการดำเนินการเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยมหาวิทยาลัย รูปแบบการดำเนินการเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุข
![281019_๑๙๑๑๐๔_0006.jpg](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_ad02500d2edc4bc187a956b8d72717d1~mv2.jpg/v1/crop/x_0,y_216,w_1478,h_710/fill/w_743,h_357,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/281019_%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%94_0006.jpg)
ข้อเสนอแนะการวิจัยที่สำคัญคือ มหาเถรสมาคมควรผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม สำนักงานคณะกรรมการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นต้น ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานทางสุขภาพทั้งภายในคณะสงฆ์ และการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ควรร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่น กรมอนามัย กรมการอแพทย์ โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานทางสุขภาพและการส่งเสริมสิทธิทางสุขภาพในการรักษาพยาบาลให้กับพระสงฆ์
![IMG_1810.JPG](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_60dd41612bfe44ad939d240ea8f3c577~mv2.jpg/v1/crop/x_0,y_514,w_5472,h_2620/fill/w_731,h_350,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/IMG_1810_JPG.jpg)
เขียนโดย
![unnamed.jpg](https://static.wixstatic.com/media/c28c69_6263938c20f845c69853b0c98670ea6a~mv2.jpg/v1/crop/x_14,y_0,w_410,h_512/fill/w_149,h_186,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/unnamed.jpg)
รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย