top of page

การเสวนาวิชาการ

"ทบทวนชวนคิด: พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะและสังคม"

สำเนาของ สำเนาของ Black Minimalist Handmade Soap Facebook Shop Logo.png

     

การสัมมนาวิชาการและนโยบายสังคม หัวข้อ "ทบทวนชวนคิด: พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะและสังคม"

นำโดย  พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบโครงการการพัฒนาระบบการจัดพื้นที่และเครือข่ายองค์กรสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา

หน่วยวิชาการสนับสนุนการทำงานสุขภาวะขององค์กรพระพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

และภาคีเครือข่ายวิชาการ

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ณ ห้องประชุมสาขาพัฒนาสังคม อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

          เวทีเสวนาวิชาการ "ทบทวนชวนคิด: พระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะและสังคม" มีเป้าหมายเพื่อการสื่อสารถึงบทบาทการทำงานวิจัยทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสุขภาวะและสังคม รวมถึงการนำเสนอให้เห็นถึงบทบาทของคณะสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะในบริบทสังคมปัจจุบัน โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บูรณาการร่วมกันเป็นผู้ขับเคลื่อนเวทีสาธารณะในครั้งนี้ และได้ให้เกียรติพระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. พร้อมด้วย ศ.ดร.จำเนียร จวงตระกูล ประธานกรรมการกำกับทิศแผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร เป็นผู้กล่าวเปิดงานและกล่าวปาฐกถาการเสวนา โดยกล่าวถึงบทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์กับการสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนา ซึ่งได้เน้นย้ำให้เห็นถึงมิติการพัฒนาคุณภาพชีวิต และมิติคุณภาพสังคม เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคม

DSC04877.JPG
DSC04851.JPG

          นอกจากนี้ คุณพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้อธิบายถึงความสำคัญของวัดและพระสงฆ์ที่พัฒนาบทบาทตนเองให้สอดคล้องไปตามยุคสมัย การดูแลสุขภาพพระสงฆ์จึงสำคัญและไม่ควรมองข้ามเนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงทั้งสุขภาพทางกายและสุขภาพทางใจ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พระพุทธศาสนาจึงได้รับการพัฒนาบทบาทให้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเป้าหมายต่อไปคือการสร้างเครือข่ายพัฒนาสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนให้พระสงฆ์เป็นต้นแบบการดูแลสุขภาวะที่ดีแก่สังคม

DSC04819.JPG

          ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ที่มีความชำนาญในเรื่องของการทำงานวิจัยทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสุขภาวะและสังคม ได้แก่ รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, รศ.ดร.พินิจ ลภาธนานนท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผศ.ดร.เบญจมาศ สุขสถิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นดังกล่าว โดยได้ให้ข้อเสนอแนะว่าสิ่งสำคัญของการทำงานวิจัยคือการทำให้เกิดความยั่งยืนและขยายผลการทำงานไปสู่พื้นที่รอบข้าง

DSC05044.JPG
DSC05038.JPG

           ท้ายที่สุด ได้ร่วมกันสะท้อนกระบวนการพัฒนาตนเองของพระสงฆ์ที่นำไปสู่บทบาทการทำงานด้านสาธารณสงเคราะห์ ทำให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายที่เป็นปัจจัยสำคัญในการหนุนเสริมให้พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการช่วยดูแลสุขภาวะสังคม พร้อมทั้งอยากให้สังคมมีความตระหนักต่อการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน ตลอดไปจนถึงการต่อยอดพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมให้ทำงานเชิงรุกสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายเชื่อมร้อยไปยังพระสงฆ์ในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ต่อไป

DSC04962.JPG
DSC04901.JPG
DSC05121.JPG
bottom of page