top of page
DSC_3159 copy.jpg

“ภูมิปัญญากับการพัฒนา: บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบวชป่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ชวนอ่านบทความเรื่อง “ภูมิปัญญากับการพัฒนา: บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบวชป่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

“ภูมิปัญญา ถูกเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับมิติทางสังคม มีการถ่ายทอดโดยอาศัยกระบวนการทางสังคม ไม่สามารถซื้อขายได้เหมือนความรู้ในตำราทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะภูมิปัญญาจึงเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยกระบวนการศึกษา การเรียนรู้ และการสัมผัสประสบการณ์จริงผ่านการลงพื้นที่โดยตรง”

        (ยศ สันตสมบัติ 2542)

     ภูมิปัญญา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย ขาดหลักการ ไร้ความเป็นเหตุเป็นผล หรือไม่มีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด อันที่จริง ภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านการเรียนรู้ การทดลอง การเฝ้าสังเกตซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสิ่งที่เข้ามามีความสัมพันธ์กับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

DSC_3217 copy copy.jpg
DSC_3167 copy.jpg

     หากพิจารณาตั้งแต่สังคมโบราณที่ส่วนใหญ่มีพื้นฐานเป็นสังคมมุขปาถะ หรือสังคมแห่งการพูดคุย ภูมิปัญญาถูกส่งต่อและถ่ายทอดผ่านการเล่า การบอกต่อ เพื่อคงไว้ซึ่งความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ภูมิปัญญาจึงถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการอยู่รอดของมนุษยชาติกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงที่ความรู้ต่าง ๆ ยังไม่ปรากฏในรูปแบบตำราหรือหนังสือ

     ขณะที่ปัจจุบัน ภูมิปัญญาได้กลายเป็นที่รู้จักของสังคมวงกว้าง ถูกให้ความสำคัญและได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยในปี ค.ศ. 1980 สหประชาชาติได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยทางสหวิชาการสนับสนุนให้มีงานวิชาการกิที่บูรณาการทั้งในด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความรู้ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ภูมิปัญญาจึงไม่ใช่สิ่งโบราณ แต่คือสิ่งที่สามารถนำไปผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

DSC_3130 copy copy.jpg

     บทความเรื่อง “ภูมิปัญญากับการพัฒนา: บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบวชป่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Wisdom and Development: An Analysis on the tree ordination for sustainable development) เขียนโดย สายชล ปัญญชิต รองผู้จัดการโครงการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในสังคมไทย และนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรมวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะนำผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจความสำคัญของภูมิปัญญาในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ประเภทหนึ่งผ่านการศึกษาปฏิบัติการณ์ที่เรียกว่า “การบวชป่า” ปฏิบัติการที่มีความเป็นรูปธรรม แต่ทว่าซุกซ่อนสัญลักษณ์นามธรรมไว้อย่างมากมาย เนื่องจากเป็นปฏิบัติการณ์ที่ผสมผสานทั้งความเชื่อ ศาสนา พิธีกรรม จารีตประเพณี ความเกื้อกูลและความอ่อนน้อมถ่อมตน

DSC_3146 copy copy.jpg

      ท้ายที่สุดแล้ว บทความชิ้นนี้พยายามเสนอแนะถึงแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้ภูมิปัญญาสามารถกลายเป็น “นวัตกรรมทางสังคม” ที่เท่าทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทสังคมไทยปัจจุบันได้

เขียนโดย

บทความโดย

ภาพโดย

_DSC0021.jpg
_DSC9991.jpg
100497 copy.jpg
boat_pf1.jpg

พงษ์พัฒน์ ใหม่จันทร์ดี

สายชล ปัญญชิต

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ

รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล

DSC_3132 copy.jpg
DSC_3126 copy.jpg
bottom of page