top of page
PIC 3.JPG

“ งานสาธารณสงเคราะห์เป็นชีวิตของพระสงฆ์และประชาชน ”

- สมเด็จพระมหาธีราจารย์ -

     คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นกับพระสงฆ์ระหว่างช่วงภัยพิบัติน้ำท่วม (ส.ค.-ก.ย. 2562) คือ คณะสงฆ์ควรวางบทบาทกับปัญหาอย่างไร “และพระสงฆ์ออกช่วยประชาชนได้แค่ไหนอย่างไร ” ดูเหมือนว่าจะมีคำตอบที่หลากหลาย รายงานชิ้นนี้จะนำท่านค้นหาคำตอบที่เป็นประเด็นถกเถียงและชวนท่านร่วมหาความรู้ สร้างบทสนทนาเพื่อยกระดับการดำเนินกิจการของคณะสงฆ์อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน

     มหาเถรสมาคม (องค์กรปกครองของคณะสงฆ์ไทย) มีมติให้จัดตั้งฝ่ายการปกครองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ออกเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายการปกครอง ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ ฝ่ายเผยแผ่ ฝ่ายสาธารณูปการ และฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ กิจการของแต่ละฝ่ายมีความสำคัญต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา รวมทั้งจะช่วยยกระดับการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมแก่สังคมไทยได้ อย่างไรก็ดีงานสาธารณสงเคราะห์เป็นกิจการที่กำลังมีกิจกรรมการขับเคลื่อนร่วมกับภารกิจอื่น ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากการที่คณะสงฆ์ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ความทุกข์ร้อนของประชาชน

     ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายทางวิชาการ อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ร่วมมือศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม จัดประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจการสาธารณสงเคราะห์กับการพัฒนาสุขภาวะอย่างยั่งยืนของสังคมไทย จนเกิดชุดความรู้สาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์

PIC 2.jpg
74803107_753196635142642_657337998977164
PIC 3.JPG

เล่มที่ 1 “แก่นสาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พุทธ”

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     สำหรับเล่มนี้จะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญของงานสาธารณสงเคราะห์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยค้นคว้าอ้างอิงจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์กับการทำงานพัฒนาสังคม อีกทั้งยังเปิดมุมมองทางความคิดและข้อถกเถียงทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสงเคราะห์อีกด้วย ผลงานชิ้นนี้ เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นคุณค่าความแตกต่างทางวิชาการ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการค้นคว้าวิจัยและสามารถโต้แย้งกันได้อย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ร่วมกันต่อไป

เล่มที่ 2 “แนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม สังคหธุระและสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ และคณะ

    สำหรับเล่มนี้สรุปสาระสำคัญ เกี่ยวกับแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในสังคมไทย โดยการเชื่อมโยงบทบาทกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ “สังคหธุระ” ที่จะช่วยสะท้อนให้เห็นการเป็นผู้นำกิจกรรมการพัฒนาสู่ภาคปฏิบัติรวมทั้งยังเสนอแนะแนวทางสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ ตลอดจนองค์ประกอบของงานสาธารณสงเคราะห์เพื่อความยั่งยืน จากการประมวลองค์ความรู้ของหนังสือเล่มนี้ จะชวนผู้อ่านให้เห็นถึงพัฒนาการการดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทยที่เป็นทางการจนนำมาสู่การมอบรางวัล “เพชรงามสาธารณสงเคราะห์” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างข้อถกเถียงและการทำงานสาธารณสงเคราะห์ระยะยาวต่อไป

74708884_488050728460949_791935214396060
PIC 4.jpg
74341489_765753647202044_638561890594717
PIC 5.JPG

เล่มที่ 3 “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต งานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ และคณะ

    สำหรับเล่มนี้สรุปสาระสำคัญ เกี่ยวกับแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในสังคมไทย โดยการเชื่อมโยงบทบาทกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ “สังคหธุระ” ที่จะช่วยสะท้อนให้เห็นการเป็นผู้นำกิจกรรมการพัฒนาสู่ภาคปฏิบัติรวมทั้งยังเสนอแนะแนวทางสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ ตลอดจนองค์ประกอบของงานสาธารณสงเคราะห์เพื่อความยั่งยืน จากการประมวลองค์ความรู้ของหนังสือเล่มนี้ จะชวนผู้อ่านให้เห็นถึงพัฒนาการการดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทยที่เป็นทางการจนนำมาสู่การมอบรางวัล “เพชรงามสาธารณสงเคราะห์” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างข้อถกเถียงและการทำงานสาธารณสงเคราะห์ระยะยาวต่อไป

PIC 6.JPG
bottom of page