top of page

“ในทางพระพุทธศาสนา ให้ความสำคัญกับใจมากกว่ากายนะ ใจสำคัญเพราะว่าในนั้นเป็นเหมือนกับ เครื่องที่ควบคุมมันเป็นชิบที่สำคัญที่สั่งให้มือหรือให้แขนให้ขาให้หัวให้ตาทำงานเนี่ยนะ”

                  พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ หรือพระครูปลัดฯวีระพล กล่าวถึง การดูแลสุขภาพทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของคนรอบตัวที่มีส่วนช่วยผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพุทธศาสนาสิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยได้ เพราะใจในทางพระพุทธศาสนานั้นสำคัญ

                หลักธรรมกับการเยียวยาจิตใจ

     “หลักธรรม” เป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนนั้นใช้เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติแทบจะเรียกได้ว่าวิถีชีวิตของคนในสังคมนั้นถูกเชื่อมโยงกับหลักธรรมของศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ก็ถูกหล่อหลอมขึ้นจากความเชื่อ เมื่อความเชื่อถูกเชื่อโดยคนหมู่มากและเริ่มมีคนปฏิบัติมากขึ้นความเชื่อก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรม ในทางพุทธศาสนากับการเยียวยาคนไข้ได้พบว่าเป็นสิ่งที่มีความข้องเกี่ยวกันอย่างเป็นพันธะเพราะแกนหลักของพุทธศาสนา คือการทำให้ผู้คนนั้นพ้นทุกข์

         “ในทางพุทธศาสนานี้เป็น เป็นพันธกิจหนึ่งเลยนะ ไม่ใช่ว่าเป็นกิจกรรมนะเพราะว่าพระพุทธเจ้าเนี่ยเผยแพร่หลักธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ของคนนะ ในทางพุทธศาสนาการที่เยียวยาผู้ป่วยการที่เยียวยาธรรมะพระพุทธเจ้ายังรับรองว่าการที่ได้ดูแลอุปัฏฐาก พระพุทธองค์เนี่ย บุญกุศลหรือความดีความงามยังไม่เบิกบานเท่ากับการได้ดูแลคนกลุ่มใหญ่ คนหมู่มาก”

          เมื่อได้ทราบแล้วว่าพุทธศาสนานั้นมีหลักคิดในการทำให้คนพ้นทุกข์ทางใจแล้วแสดงว่าจริงๆ แล้วหลักธรรมของพุทธศาสนาก็ต้องมีไว้ใช้เพื่อการให้ความสงบทางใจแก่ผู้เป็นสาวกและผู้ที่สนใจ แล้วจึงเกิดความสงสัยว่ามีหลักธรรมใดบ้างที่มีความชัดเจนในการเยียวยาจิตใจอย่างเป็นรูปประธรรมที่สุดคำตอบที่ได้รับนั้นก็คือไม่มีอย่างเป็นรูปประธรรมเพราะหลักธรรมนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ของคนอยู่แล้วสิ่งที่เป็นเหตุของทุกข์ต่างหากที่พุทธศาสนาเชื่อว่าหากดับเหตุได้ก็จะหมดทุกข์แล้วทุกข์คืออะไรก็คือตัวเองเพราะฉะนั้นการรู้จักตัวเอง รับรู้ในสิ่งที่เป็น ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นต่างหากที่เป็นตัวที่เข้ามาช่วยเยียวยาจิตใจของผู้คน

          “ในทางพระพุทธศาสนานี้คือ ให้มีโยนิโสมนสิการ คือพิจารณา บางคนอาจจะกายภาพอย่างหนึ่งเขาหายได้ แต่บางคนเขาต้องฉีดยาเพิ่มหน่อย บางคนต้องไปพบหมอหน่อย หมอเขาต้องมีอะไร เพราะเขามีหลากหลายใช่ไหมล่ะ บางคนเขาอาจจะเป็นโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นด้วย บางคนไม่ใช่แค่เป็นเส้นเลือดอย่างเดียว อาจจะมีเรื่องซึมเศร้าอย่างที่ว่าอย่างงี้ เขาอาจจะมีคอร์สมีกิจกรรมให้ทำ มีอะไรอย่างงี้อะนะ ตอนนี้ในทางพระพุทธศาสนาเนี่ยมองว่า ความเพียงพอของธรรมะเนี่ย เพียงพอสำหรับคนทุกคนนะ ไม่เฉพาะ เฉพาะคนที่มีความสุข คนที่มีความทุกข์ด้วย แล้วเอาเข้าจริงๆ ในทางพระพุทธศาสนานี้ หลักธรรมที่สำคัญมี 2 เรื่องเท่านั้น คือทุกข์กับการดับทุกข์ ไอส่วนเรื่องอื่นมันเป็น มันเป็น เอ่อ บริบทของคนทั่วไปแต่ว่าคนทุกคนจะมี 2 เรื่องหลักเท่านั้นแหละคือความทุกข์กับการดับทุกข์”

          กล่าวคือหากผู้คนมีปัญหาทางใจซึ่งก็คือทุกข์แล้วนั้นการรู้จักตนเองถือเป็นสิ่งที่ควรทำในทางพุทธศาสนาคือการรู้จักตนเองเมื่อเกิดการตระหนักรู้ก็จะทำให้เกิดความสงบภายในจิตใจและเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นความทุกข์ในทางใจก็จะหมดลง

หลักธรรมกับโรคเวรโรคกรรม

           โรคเวรโรคกรรมที่หลายๆคนมักจะชินพูดติดปากหรืออาจจะติดหูท่านอยู่บ้าง กับการที่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคขั้นรุนแรง ก็มักจะไปโทษว่า เป็นเรื่องของเวรกรรมเราไม่อาจหลุดพ้นได้ หรือเจ้ากรรมนายเวรเค้ามาทวงคืนแล้วโดยที่ไม่ได้นึกถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เช่นกินเหล้า สูบบุหรี่ และอาหารรถจัดเป็นต้น นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการเจ็บป่วย

          ในหลักศาสนาโรคได้ถูกแบ่งเป็น 2 อย่างคือ โรคทางกายกับโรคทางใจ พระพุทธศาสนาบอกไว้ว่าบางคนอาจไม่เคยมีโรคทางกายเลย แต่ไม่มีใครสักคนในโลกนี้ที่จะไม่มีโรคทางใจ เพราะฉะนั้นโรคทั้งสองจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เมื่อเกิดความผิดหวังเศร้าสร้อยเบื่อหน่ายเกิดความโศกเศร้าเสียใจระทมทุกข์ ก็จะเกิดโรคทางกายได้ ในตอนที่เกิดโรคทางกายก็จะเป็นผลให้เกิดโรคทางใจ เช่น การท้อแท้สิ้นหวังหมดกำลังใจ เป็นต้น เพราะฉะนั้นโรคทั้งสองอย่างนี้จึงเกี่ยวเนื่องกันนี้คือหลักพื้นฐาน ต้องเข้าใจหลักของโรค และยอมรักความจริงให้ได้โดยที่ไม่ไปโทษในเรื่องของเวรกรรม แท้จริงแล้วเมื่อเจ็บป่วยอย่างไรก็ตามต้องย้อนกลับไปมองในเรื่องของพฤติกรรมเป็นอย่างแรก

               “มันเป็นโรคพฤติกรรม แต่คนไปมองว่าเป็นโรคเวรกรรม คือคนมองว่า โอ้วเวรกรรม อย่างกับพี่ชายพระอาจารย์เป็นเนี่ย เพราะว่าเขากินเหล้า แล้วเขาทำงานขับรถเนาะ เขาเหนื่อยๆเขาก็ต้องกิน กลับไปบ้านเมียบ่นเมียด่า เขาก็ไม่สนใจหรอก เขาก็เมานอนแล้ว เช้าไปเขาก็ไปขับรถของเขา ขับรถบริษัทเขาก็ทำงานของเขา แล้วก็เมา ตอนนี้เขาก็เริ่มรู้สึกตัวจากการเป็นความดัน เป็นเบาหวาน แต่เขาก็กินยาบ้างไม่กินยาบ้าง ก็คือพฤติกรรมอย่างนี้แหละ หมอให้มาเขาก็กินเวลาเขาเป็นอะไรขึ้นมาเขารู้สึกตัวเขาก็กิน ในขณะที่ไม่รู้สึกตัวไม่มี effect กับร่างกายเขาไม่กินไง อ่า อย่างนี้เป็นต้น มันก็เลยไม่ต่อเนื่องใช่ไหม คุมไม่อยู่” พระครูปลัดฯวีระพล วัดยานนาวา กล่าว

            ดังนั้นการทำให้ เข้าใจถึงเรื่องโรคที่เป็น ย้อนกลับไปถึงสาเหตุของโรคเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้คนไข้ยอมรับความเป็นจริง พร้อมที่จะรักษาให้หาย และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อหายจากการเจ็บป่วย

                  พระครูปลัดฯวีระพล กล่าวถึงการดูแลสุขภาพทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสงเคราะห์ เป็นหนึ่งในกิจของสงฆ์สุขภาพที่ดีต้องดีทั้งกายและใจ คำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย อาการป่วยที่เกิดขึ้นไม่เพียงแค่ส่งผลต่อสภาพร่างกายและลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยเท่านั้น ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ที่ร่างกาย แน่นอนว่าต้องส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญคือจิตใจ พุทธศาสนาถือเป็นสิ่งที่สามารถเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยได้ แต่กลุ่มคนอีกกลุ่มที่มีความสำคัญคือ ครอบครัว จากคำกล่าวของ พระครูปลัดฯวีระพล วัดยานนาวา กล่าวว่า:

หลักธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาวะวิถีพุทธ

              “รักษากายมันเป็นเรื่องภายนอกที่คุณหมอเขาพยายามทำตามระบบตามเทคนิคการแพทย์ทางวิชาทางการแพทย์ ต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ตามเวลาที่เราได้ปรารภตั้งแต่ต้นว่า เออ 3 เดือน-1 ปีเนี่ยนะ มันเป็นตามระบบ แต่ว่าใจเนี่ยสำคัญเพราะว่า โรคเหล่านี้เป็นสักพักนึงอะผู้ป่วยจะรู้สึกท้อใจเพราะว่าตนเองไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง ต้องเพิ่งพาญาติพี่น้อง ต้องเพิ่งพาสามีภรรยา ต้องเพิ่งพาลูกหลาน จนบางครั้งผู้ป่วยจะมองว่าตนเองเป็นภาระ ให้กับคนในครอบครัว และบางครั้งบางที่ด้วยอาการป่วยเนี่ยทำให้ คำพูดก็ตาม วจีกรรมหรือแม้กระทั่งการพูดจากันเนี่ยเป็นไปในทางที่ลบมากกว่าบวก”

                    พุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ช่วยให้กำลังใจผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการรักษาร่างกายทางการแพทย์ สิ่งที่พระพระครูปลัดฯวีระพล ต้องการจะสื่อก็คือ การให้กำลังใจกันของคนในครอบครัว เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ โดยกล่าวถึงเรื่องของ การเป็นกัลยาณมิตร พูดสิ่งที่เป็นพลังบวก จะไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระค่อยทำให้คนในครอบครัวลำบาก ในมุมมองของพระครูปลัดฯวีระพล ไม่ได้มองว่าสิ่งไหนดีกว่ากันหรือควรให้ความสำคัญกับด้านไหนมากกว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือการทำทั้งสามด้านไปพร้อม ๆกัน เหมือนทางสายกลาง

          “หมอหรือว่าพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่นักกายภาพ เขามีทั้งการรักษากายด้วยและใจด้วยเขาก็พยายามที่จะ improvement ให้เขารู้สึกว่าลุงทำได้ ลุงอีกก้าวซิลุง ยกมืออีกซิ อ่า เช่นขวดน้ำ เขาก็จะค่อยๆ “อ้าว..ลุง ๆ อีกนิดนึง ๆ ” สุดท้ายเขาก็ถือขวดน้ำได้ แต่ถ้าเป็นลูกเป็นหลานก็ “โอ้ย...ทำซิ ทำไม่ได้ก็ไป” เพราะฉะนั้นกายเนี่ยหมอรักษาได้ แต่ว่าใจเนี่ยในทางพระพุทธศาสนานี้สำคัญ การเป็นกัลยาณมิตร คือหมอกับแพทย์กับนักเทคนิคนักกายภาพเนี่ย เขามีความเป็นกัลยาณมิตรอยู่แล้ว เพราะปรารถนาให้ผู้ป่วยหายป่วยอยู่แล้ว นี้แหละมันก็เป็นตัวหลักของพระพุทธเจ้า ก็คือ ต้องมีความเป็นกัลยาณมิตร คือปรารถนาดี เอ่อปรารถนาดี” เพราะทุกคนคือส่วนสำคัญในการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ถ้าร่างกายอ่อนแอ แต่จิตใจเข้มแข็งคำว่ากำลังใจสามารถช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ ทุกสิ่งทุกอย่างแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน บุคลากรทางการแพทย์มีหน้าที่รักษาร่างกาย พุทธศาสนาเยียวยาจิตใจ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ครอบครัว เพราะกำลังใจถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

                   เพราะทุกคนคือส่วนสำคัญในการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ถ้าร่างกายอ่อนแอ แต่จิตใจเข้มแข็งคำว่ากำลังใจสามารถช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ ทุกสิ่งทุกอย่างแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน บุคลากรทางการแพทย์มีหน้าที่รักษาร่างกาย พุทธศาสนาเยียวยาจิตใจ

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ครอบครัว เพราะกำลังใจถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

เขียนโดย

นาย วรภพ ธันยากรวรกุล

นิสิตสาขาวิชาสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

วิชาเอกการวิจัยสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นาย วัจน์กร ขุนทองวรภพ

นิสิตสาขาวิชาสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

วิชาเอกการวิจัยสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นาย ณภัทร สุวรรณจินดา

นิสิตสาขาวิชาสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

วิชาเอกการวิจัยสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา

ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ที่ปรึกษา

อาจารย์สายชล ปัญญชิต

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

bottom of page